เมนู

สุทธขันธวาระ ปัจจนิก


[72] ธรรมที่ไม่ชื่อว่ารูป, ไม่ชื่อว่าขันธ์ ใช่ไหม ?
ยกเว้นรูปเสียแล้ว ขันธ์ที่เหลือนอกนั้นไม่ชื่อว่ารูป ชื่อว่าขันธ์
ยกเว้นรูปและขันธ์เสียแล้ว สภาวธรรมที่เหลือนอกนั้นไม่ชื่อว่ารูปและ
ไม่ชื่อว่าขันธ์.
ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์, ไม่ชื่อว่ารูปขันธ์ ใช่ไหม ?
ใช่.
[73] ธรรมที่ไม่ชื่อว่าเวทนา, ไม่ชื่อว่าขันธ์ ใช่ไหม ?
ยกเว้นเวทนาเสียแล้ว ขันธ์ที่เหลือนอกนั้นไม่ชื่อว่าเวทนา
ชื่อว่าขันธ์ ยกเว้นเวทนาและขันธ์เสียแล้ว สภาวธรรมที่เหลือนอกนั้น
ไม่ชื่อว่าเวทนาและไม่ชื่อว่าขันธ์.
ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์, ไม่ชื่อว่าเวทนาขันธ์ ใช่ไหม ?
ใช่.
[74] ธรรมที่ไม่ชื่อว่าสัญญา, ไม่ชื่อว่าขันธ์ ใช่ไหม ?
ยกเว้นสัญญาเสียแล้ว ขันธ์ที่เหลือนอกนั้นไม่ชื่อว่าสัญญา
ชื่อว่าขันธ์ ยกเว้นสัญญาและขันธ์เสียแล้ว ภาวธรรมที่เหลือนอกนั้น
ไม่ชื่อว่าสัญญาและไม่ชื่อว่าขันธ์.
ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์, ไม่ชื่อว่าสัญญาขันธ์ ใช่ไหม ?
ใช่.

[ 75 ] ธรรมที่ไม่ชื่อว่าสังขาร, ไม่ชื่อว่าขันธ์ ใช่ไหม ?
ยกเว้นสังขารเสียแล้ว ขันธ์ที่เหลือนอกนั้นไม่ชื่อว่าสังขาร
ชื่อว่าขันธ์ ยกเว้นสังขารและขันธ์เสียแล้ว สภาวธรรมที่เหลือนอกนั้น
ไม่ชื่อว่าสังขารและไม่ชื่อว่าขันธ์.
ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์, ไม่ชื่อว่าสังขารขันธ์ ใช่ไหม ?
ใช่.
[ 76 ] ธรรมที่ไม่ชื่อว่าวิญญาณ, ไม่ชื่อว่าขันธ์ ใช่ไหม ?
ยกเว้นวิญญาณเสียแล้ว ขันธ์ที่เหลือนอกนั้นไม่ชื่อว่าวิญญาณ
ชื่อว่าขันธ์ ยกเว้นวิญญาณและขันธ์เสียแล้ว สภาวธรรมที่เหลือนอกนั้น
ไม่ชื่อว่าวิญญาณและไม่ชื่อว่าขันธ์
ธรรมที่ไม่ชื่อว่าขันธ์, ไม่ชื่อว่าวิญญาณขันธ์ ใช่ไหม ?
ใช่.
สุทธขันธวาระ ปัจจนิก จบ

อรรถกถาสุทธักขันธวาระ


ใน สุทธักขันธวาระ คำถามว่า " รูปํ ขนฺโธ " ธรรมที่ชื่อว่า
รูป ชื่อว่า ขันธ์ ใช่ไหม ?
ย่อมตรัสถามว่า " รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง "
ที่กล่าวว่า " รูป " รูปนั้นทั้งหมดเป็นขันธ์หรือ "
ในคำถามนั้น
เพราะรูปกล่าวคือ ปิยรูปสาตรูป ก็ดี ภูตรูป และ อุปาทารูป
ทั้งหมดก็ดี ถึงการสงเคราะห์ในขันธ์ 5. เพราะฉะนั้นพระองค์จึงตรัส
รับรองว่า อามนฺตา ใช่.
ในทุติยบท ควรถามว่า " ขันธ์ทั้งหลาย ชื่อว่า รูป ใช่ไหม ? "
เพราะพระองค์ทั้งอธิบายรูปขันธ์ไว้ด้วยคำว่า รูป แล้ว ฉะนั้นจึงไม่
ทรงคำนึงถึง เมื่อจะตรัสถามด้วยอำนาจแห่งอรรถ จึงตรัสว่า ขันธ์
ทั้งหลาย ชื่อว่า รูปขันธ์ ใช่ไหม ?
พึงทราบเนื้อความในบททั้งปวง
โดยอุบายนี้ แม้ในนิทเทสวาระแห่งอายตนยมกเป็นต้น ข้างหน้าก็นัยนี้.
แม้ในคำถามที่ว่า " สญฺญา สญฺญากฺขนฺโธ = ธรรมที่ชื่อว่า
สัญญา ชื่อว่าสัญญาขันธ์ ใช่ไหม ? " นี้, ทิฏฐิสัญญา
ก็ดี
สัญญา ก็ดี พระองค์ตรัสว่า อามนฺตา = ใช่ เพราะความที่แห่ง
ทิฏฐิสัญญาและสัญญา แม้ทั้งหมดก็เป็นขันธ์.
แม้ในบทว่า " สงฺขารา สงฺขารกฺขนฺโธ = สังขาร ชื่อว่า
สังขารขันธ์หรือ "
ก็มีนัยนี้ ชื่อว่า สังขารที่พ้นจากความเป็นขันธ์
ย่อมไม่มี.